โดย นายบางมด
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรต่างๆ ได้นำเอา “หลักการบริหารโซ่อุปทาน(Supply Chain Mangement)” มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ผลเป็นอย่างดี ซึ่งการบริหารโซ่อุปทานนั้นเป็น การรวมกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ (Raw Material) แล้วนำมาแปรรูปหรือผลิต (Manufacturing) ให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) ตามที่ต้องการและนำจัดส่งให้กับลูกค้า(Customers) (Heizer และ Render, 2001) มีนักวิชาการหลายท่านแสดงความเห็นว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การบริหารโซ่อุปทาน ซึ่งโลจิสติกส์นั้นคือการรวมกันของกระบวนการ และการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การปฏิบัติงาน และการควบคุมการไหล และการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพนั้นจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำลง และยังเป็นการปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นรวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของการดำเนินการให้ดีขึ้นด้วย ดังนั้นการจัดการโลจิสติกส์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่กำลังต้องการปรับปรุงการดำเนินการให้เกิดความรวดเร็ว(Quick Response) และสร้างความน่าเชื่อถือในการกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ พร้อมด้วยระบบและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการให้ข้อมูลที่มีความซับซ้อน จะเห็นได้ว่าการนำการระบบจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้จะมีผลกระทบต่อหน่วยงานการผลิต (Irwin และ Larry, 1998)
ในระบบโลจิสติกส์นั้นสามารถจำแนกกิจกรรมหลักได้ 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) การให้บริการลูกค้า 2) การขนส่ง 3) การจัดการสินค้าคงคลัง และ 4) การไหลของข้อมูลและการจัดการกระบวนการคำสั่งซื้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการขนส่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของระบบโลจิสติกส์ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในระบบโลจิสติกส์เข้าด้วยกันและเป็นกิจกรรมที่ทำให้สินค้ามีการเคลื่อนย้าย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากผู้ส่งมอบ (Suppliers) มายังผู้ผลิต (Manufacturer) หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตไปยังร้านค้าปลีกหรือไปยังผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Place value) ด้วย
ระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพนั้นเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของระบบโซ่อุปทาน เนื่องจากว่า ต้นทุนการขนส่งมีความสำคัญมากต่อต้นทุนรวมของระบบโลจิสติกส์ทั้งหมด และก็มีผลกระทบต่อราคาสินค้าด้วย แต่การพิจารณาเพียงต้นทุนทางด้านการขนส่งอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเพราะการจัดการขนส่งให้ถูกเวลา (Right Time) และถูกสถานที่ (Right Place) ก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และมักถูกนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการขนส่งเพื่อให้มีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันในตลาดโลก (Lehmusvaara, et al., 1999) ดังนั้นการเลือกเส้นทางในการขนส่ง รูปแบบการขนส่ง รวมทั้งผู้ให้บริการขนส่งจึงถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในการวางกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ขององค์กรด้วยเช่นกัน (Shashi และ Vijay, 2000)
จากการศึกษาของ Bardi, et al. ในปี 1989 พบว่าความน่าเชื่อถือของระยะเวลาในการขนส่ง ต้นทุนทางการขนส่ง ระยะเวลาทั้งหมดในการขนส่ง ความยืดหยุ่นในการเจรจาต่อรองราคา และความมั่นคงทางด้านการเงินของบริษัทขนส่งเป็น 5 ปัจจัยสำคัญในการทำการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่ง (Bardi, et al., 1989) ต่อมาในปี 1993 ส่วนใหญ่ของการศึกษาได้เปลี่ยนมุมมองทางด้านปัจจัยในการเลือกผู้ให้บริการขนส่งจากการที่มองแต่ทางด้านต้นทุน (Cost) มาเป็นมุมมองทางด้านการให้บริการ (Service) เป็นหลัก
จากการศึกษาของ Kent and Parker ในปี 1998 และ Lehmusvaara, et al., ในปี 1999 โดยใช้การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process; AHP) พบว่ายังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างผู้นำเข้า และผู้ส่งออกถึง 3 ปัจจัยจากปัจจัยทั้งหมด 18 ปัจจัย โดยผู้นำเข้าต้องการการบริการขนส่งแบบประตูถึงประตู (Door-to-door Transportation) การขนส่งแบบด่วนพิเศษ และการให้บริการในการตามรอยสินค้า (Kent และ Parker, 1998) ดังนั้นผู้ให้บริการขนส่งควรจะคิดค้นกลยุทธ์การให้บริการเหล่านี้กับลูกค้า เพราะผู้นำเข้าจะเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งที่สามารถนำเสนอจุดที่ดีที่สุดในระบบโซ่อุปทานและสามารถสร้างความสัมพันธ์การเป็นคู่ค้า (Partner) ได้อย่างยั่งยืนยาวนาน (Shashi และ Vijay, 2000)
ในกระบวนการโลจิสติกส์เราอาจเรียกผู้ให้บริการขนส่งว่าเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics Service Providers – LSPs) หรือที่มักถูกเรียกว่า Third Party Logistics Providers (3PLs) มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมโลจิสติกส์สำหรับหนึ่งหรือหลายๆ บริษัทภายในโซ่อุปทานและ ทำหน้าที่เป็นเหมือนคนกลางที่เชื่อมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน (Lai, et al., 2004) หน้าที่ของ 3PLs หรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถถูกแบ่งออกเป็นหลักๆ ที่สำคัญได้เป็นดังต่อไปนี้ (1) การจัดการคลังสินค้า (2) การจัดการทางด้านขนส่ง (3) การให้บริการลูกค้า และ (4) การจัดการบริหารสินค้าคงคลังและโลจิสติกส์ (Sink, et al., 1996), (Vaidyanathan, 2005)
จากความสำคัญของผู้ให้บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในระบบโลจิสติกส์ จึงทำให้ธุรกิจการให้บริการทางด้านโลจิสติกส์กำเนิดขึ้นเพื่อให้บริการในการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในโซ่อุปทาน นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านการให้บริการโลจิสติกส์มีส่วนสำคัญในการลดกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และการรวมตัวกันในการผลิต และการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ (Irwin และ Larry, 1998) ด้วยความสำคัญของผู้ให้บริการขนส่ง ดังนั้นการเลือก และการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือในระยะยาวกับผู้ให้บริการขนส่ง
ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบและวิเคราะห์ระบบโซ่อุปทานคือการกำหนดวิธีการในการวัดผลการดำเนินงานที่เหมาะสม การวัดผลการดำเนินงานถูกนำไปใช้เพื่อกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบที่มีอยู่โดยทำการเปรียบเทียบกับระบบที่เป็นทางเลือกในการแข่งขันอื่นๆ การวัดผลการดำเนินงานยังสามารถถูกนำไปใช้เพื่อนำเสนอตัวแปรที่ใช้ในการตัดสินว่าผลที่ได้เป็นไปตามที่ต้องการมากที่สุดหรือไม่ (Beamon, 1998)
ในการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งนั้น มีหลายปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ในการประเมิน ซึ่งแต่ฝ่ายต่างมีมุมมองต่อปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น การบริการขั้นพื้นฐานของผู้ให้บริการขนส่งที่ผู้รับการบริการคาดหวังที่จะได้รับซึ่งได้แก่ (1) ราคาค่าบริการ (2) ระยะเวลาการขนส่งเฉลี่ย (3) ความยืดหยุ่นของระยะเวลาในการขนส่ง และ (3) ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยทั้ง 4 นี้เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่ง รวมทั้งการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งด้วย แต่เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวทั้ง 4 ไม่สามารถวัดผลในเชิงปริมาณ (Quantitative) ได้ จึงต้องใช้การวัดผลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ซึ่งถ้าจะทำให้การวัดผลทำได้ครอบคลุมมากขึ้น ก็ควรที่จะมีการวัดในเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ซึ่งป็นการวัดในเชิงคุณภาพด้วย
จากการศึกษาของ Cooper ในปี 1995 Kaplan and Atkinson ในปี 1998 และ Vosselman ในปี 1997 ได้พบว่าผลการดำเนินงานในระบบโซ่อุปทานไม่สามารถถูกวัด และถูกควบคุมได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยวิธีการแบบเดิมๆ ที่ใช้เพียงแต่การวัดในเชิงปริมาณ (Quantitative) หรือเชิงตัวเลขทางด้านการเงินเท่านั้น ซึ่งการวัดผลการดำเนินงานเชิงปริมาณนั้นคือการวัดที่สามารถอธิบายเป็นตัวเลขได้โดยตรง เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนหรือกำไร (Beamon, 1998) การวัดผลแบบนี้จะอยู่ในรูปแบบปริมาณและเป็นการวัดผลการดำเนินงานทางอ้อมเพื่อที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Kaplan และ Cooper, 1998) นอกจากจะมีการประเมินผลทางอ้อมซึ่งเป็นการประเมินผลเชิงปริมาณแล้ว ก็ยังมีวิธีการวัดหรือการประเมินผลทางตรงซึ่งเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่สามารถสะท้อนกระบวนการทำงานหรือปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่ง
จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยต่างๆ มากมายที่สามารถนำมาพิจารณาเพื่อใช้ในการประเมินผลผู้ให้บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่งในทางปฏิบัติการประเมินผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ นั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน อาทิ Balanced Scorecard, Data Envelopment Analysis, Categorical Method, Weight Point Method, Cost Ratio Method, Total Cost Ownership (TCO), Analytic Hierarchy Process (AHP) เป็นต้น แต่ละวิธีต่างมีวิธีแนวทางในการวัดและประเมินผลที่แตกต่างกัน เช่น วิธีของ Cost Ratio Method จะเป็นวิธีที่วัดผลทางด้านต้นทุนเป็นหลักซึ่งเป็นการวัดในเชิงปริมาณในขณะที่วิธีการของ Data Envelopment Analysis (DEA) และ Analytic Hierarchy Process (AHP) สามารถทำการประเมินผลได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
สำหรับวิธี AHP นั้นได้ถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจหลายๆ ด้าน อาทิ การประเมินผลการลงทุน การเลือกโครงการ กระประเมินทรัพยากรบุคคล และการจัดอันดับผู้ค้า เป็นต้น แต่การนำวิธี AHP ไปใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ยังมีไม่มากนัก ถึงแม้ว่าวิธีการ AHP จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเปรียบเทียบผลจากปัจจัยในการประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดในบริษัท (Andrea, 1996)
มีบทความและงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำศึกษาถึงการนำวิธีการ AHP ไปใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการดำเนินงาน เช่น
- ในปี 1995 Lee, at al. ได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบการประเมินผลการดำเนินงานของธุรกิจโดยใช้วิธีการ AHP
- ในปี 1996 Rangone ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการวัดผลและการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแผนการผลิตด้วยวิธีการ AHP
- ในปี 1998 Liberatore และ Miller ใช้วิธีการ AHP ในการรวบรวมกิจกรรมต้นทุนทางด้านกิจกรรม (Activity based Costing – ABC) และวิธีการแบบ Balanced Scorecard ให้เป็นการพัฒนาทางด้านกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์และกระบวนการควบคุม
- ในปี 2000 Suwignjo, et al. ใช้แผนผังเหตุและผล (Cognitive map) แผนภาพต้นไม้ และวิธีการ AHP ในการพัฒนารูปแบบเชิงปริมาณสำหรับวัดผลการดำเนินงาน (Quantitative Models for Performance Measurement Systems – QMPMS) เพื่อกำหนดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานและความสัมพันธ์เพื่อสร้างปัจจัยที่เป็นลำดับขั้น และหาจำนวนผลกระทบของปัจจัยต่อผลการดำเนินงาน
- ในปี 1996 Rangone ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการวัดผลและการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแผนการผลิตด้วยวิธีการ AHP
- ในปี 1998 Liberatore และ Miller ใช้วิธีการ AHP ในการรวบรวมกิจกรรมต้นทุนทางด้านกิจกรรม (Activity based Costing – ABC) และวิธีการแบบ Balanced Scorecard ให้เป็นการพัฒนาทางด้านกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์และกระบวนการควบคุม
- ในปี 2000 Suwignjo, et al. ใช้แผนผังเหตุและผล (Cognitive map) แผนภาพต้นไม้ และวิธีการ AHP ในการพัฒนารูปแบบเชิงปริมาณสำหรับวัดผลการดำเนินงาน (Quantitative Models for Performance Measurement Systems – QMPMS) เพื่อกำหนดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานและความสัมพันธ์เพื่อสร้างปัจจัยที่เป็นลำดับขั้น และหาจำนวนผลกระทบของปัจจัยต่อผลการดำเนินงาน
Bititci, et al. (2001) นำวิธีการ AHP มาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของกลยุทธ์ทางด้านการผลิต
จากงานวิจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าวิธีการ AHP นั้นสามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรต่างๆได้
การประยุกต์ใช้ AHP ในการประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการขนส่งกรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย
จากนโยบายการสนับสนุนธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญในการส่งออกของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพภาพในการการแข่งขันในระดับโลก ดังนั้นจึงมีการตั้งเป้าอัตราการขยายตัวของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยในอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 10% ดังจะเห็นได้จากการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้า โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณปีละ 225,400 - 357,000 ล้านบาท ในช่วงตั้งแต่ปี 2541 - 2545 ซึ่งการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ต่อมาในปี 2546 - 2547 การส่งออกยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 6.3 แต่ในครึ่งปีแรกของปี 2548 พบว่าภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมโดยรวมนั้นมีความต้องการสินค้าลดลงเนื่องจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันที่ผันผวน และอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างมีแนวโน้มปรับราคาและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงครึ่งปีหลังความกังวลต่างๆ เริ่มผ่อนคลายลงจึงทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการด้านอิเล็กทรอนิกส์ของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้น และการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2549 อุตสาหกรรมนี้จะสามารถส่งออกได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาทและมีอัตราเติบโตประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (สยามธุรกิจ, 6 มกราคม 2549) บริษัทกรณีศึกษานั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายสำคัญของประเทศไทย โดยมียอดการส่งออกไม่ต่ำกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งการที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเนื่องจากบริษัทกรณีศึกษามีลูกค้ากระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก 100 ประเทศทั่วโลก และเนื่องจากปัจจุบันการจัดการโลจิสติกส์นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านขนส่งที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่สถานที่ที่ต้องการ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านกิจกรรมขนส่งของผู้ให้บริการขนส่งจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ของบริษัท
การประยุกต์ใช้ AHP ในการประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการขนส่งกรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย
จากนโยบายการสนับสนุนธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญในการส่งออกของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพภาพในการการแข่งขันในระดับโลก ดังนั้นจึงมีการตั้งเป้าอัตราการขยายตัวของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยในอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 10% ดังจะเห็นได้จากการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้า โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณปีละ 225,400 - 357,000 ล้านบาท ในช่วงตั้งแต่ปี 2541 - 2545 ซึ่งการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ต่อมาในปี 2546 - 2547 การส่งออกยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 6.3 แต่ในครึ่งปีแรกของปี 2548 พบว่าภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมโดยรวมนั้นมีความต้องการสินค้าลดลงเนื่องจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันที่ผันผวน และอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างมีแนวโน้มปรับราคาและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงครึ่งปีหลังความกังวลต่างๆ เริ่มผ่อนคลายลงจึงทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการด้านอิเล็กทรอนิกส์ของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้น และการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2549 อุตสาหกรรมนี้จะสามารถส่งออกได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาทและมีอัตราเติบโตประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (สยามธุรกิจ, 6 มกราคม 2549) บริษัทกรณีศึกษานั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายสำคัญของประเทศไทย โดยมียอดการส่งออกไม่ต่ำกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งการที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเนื่องจากบริษัทกรณีศึกษามีลูกค้ากระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก 100 ประเทศทั่วโลก และเนื่องจากปัจจุบันการจัดการโลจิสติกส์นั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านขนส่งที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่สถานที่ที่ต้องการ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านกิจกรรมขนส่งของผู้ให้บริการขนส่งจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ของบริษัท
อรพินทร์ จีรวัสสกุล และ ผศ.ดร ธนัญญา วสุศรี (2549) จึงได้ทำศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งทางเรือจำนวน 7 บริษัทเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่สำคัญทั้งที่เป็นปัจจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานทั้งด้านประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งวิธีการในการประเมินเพื่อนำไปสู่การควบคุมการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งทางเรือจากการศึกษาพบว่าในการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งทางเรือโดยใช้วิธีการ AHP นั้น ให้ผลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการประเมินผลที่มีการให้ค่าถ่วงน้ำหนักแบบธรรมดาทั่วไปที่มาจากการสัมภาษณ์โดยตรงโดยไม่ได้ใช้วิธีการ AHP เพราะวิธีการแบบ AHP นั้นมีขั้นตอนการหาอัตราค่าความสอดคล้องของการวินิจฉัยเปรียบเทียบซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือ ให้ผลที่สมบูรณ์กว่าการประเมินแบบเดิม และเป็นวิธีที่สามารถลดความมีอคติของผู้ตอบคำถามได้โดยการวินิจฉัยเปรียบเทียบแบบเป็นคู่ๆ เพื่อให้การเปรียบเทียบได้ผลที่น่าเชื่อถือและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
จากผลการศึกษายังทำให้ทราบว่า ต้นทุนทางด้านขนส่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งมากที่สุดจากปัจจัยหลักทั้งหมด 6 ปัจจัย แม้ว่าจะมีงานวิจัยมากมายในปัจจุบันได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญและสนับสนุนปัจจัยทางด้านบริการ (Service) มากกว่าด้านต้นทุน (Cost) ก็ตาม แต่ในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน เรื่องต้นทุนก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ผู้ประกอบการต่างก็ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ พอๆ กับกับความน่าเชื่อถือในการให้บริการ ซึ่งหากผู้ให้บริการขนส่งสามารถนำเสนอการบริการที่ดีได้ในขณะที่อัตราค่าจัดส่งไม่สูงมากนัก ก็จะยิ่งเป็นการดี แต่ในภาพรวมของการดำเนินงานทั้งหมดแล้ว ปัจจัยทางด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองการให้บริการ ความเชื่อมั่นในตัวผู้ให้บริการขนส่ง การเอาใจใส่ เป็นต้น ต่างก็เป็นปัจจัยที่สำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินผลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์จริงที่ปัจจัยต่างๆมีความขัดแย้งกัน วิธีการ AHP ก็ยังเป็นวิธีที่สามารถใช้ในการประเมินผลภายใต้สถานการณ์จริงดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
จากผลการประเมินทำให้บริษัทกรณีศึกษาทราบถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของผู้ให้บริการขนส่งทางเรือทั้ง 7 ราย ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative) และคุณภาพ (Qualitative) ซึ่งบริษัทกรณีศึกษาสามารถนำผลการประเมินแจ้งผู้ให้บริการขนส่งเหล่านั้นทราบเพื่อทำการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นได้ ซึ่งท้ายที่สุดบริษัทกรณีศึกษาก็จะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งด้วยเช่นกัน
ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ให้บริการขนส่งทางเรือถึงผลการประเมินด้วยวิธีการ AHP ผู้เชี่ยวชาญต่างมีความเห็นว่าผลการประเมินที่ได้นี้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการประเมินผลด้วยวิธีกำหนดความสำคัญค่าถ่วงน้ำหนัก เนื่องจากผู้ตอบคำถามอาจมีอคติหรือไม่มีหลักการคิดแบบมีเหตุผล แต่วิธีการ AHP นั้นเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ตอบคำถามต้องใช้วิจารณาญาณในการวินิจฉัยเปรียบเทียบหาเหตุผลเป็นคู่ๆ อีกทั้งวิธีการนี้ยังมีการคำนวณหาอัตราค่าความสอดคล้องเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบด้วย ซึ่งหากผลที่ได้ออกมามีอัตราค่าความสอดคล้องเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ ผู้ตอบคำถามก็จำเป็นต้องกลับไปคิดวินิจฉัยเปรียบเทียบใหม่อีกครั้ง
ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ให้บริการขนส่งทางเรือถึงผลการประเมินด้วยวิธีการ AHP ผู้เชี่ยวชาญต่างมีความเห็นว่าผลการประเมินที่ได้นี้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการประเมินผลด้วยวิธีกำหนดความสำคัญค่าถ่วงน้ำหนัก เนื่องจากผู้ตอบคำถามอาจมีอคติหรือไม่มีหลักการคิดแบบมีเหตุผล แต่วิธีการ AHP นั้นเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ตอบคำถามต้องใช้วิจารณาญาณในการวินิจฉัยเปรียบเทียบหาเหตุผลเป็นคู่ๆ อีกทั้งวิธีการนี้ยังมีการคำนวณหาอัตราค่าความสอดคล้องเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบด้วย ซึ่งหากผลที่ได้ออกมามีอัตราค่าความสอดคล้องเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ ผู้ตอบคำถามก็จำเป็นต้องกลับไปคิดวินิจฉัยเปรียบเทียบใหม่อีกครั้ง
ในการประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการขนส่งควรจะให้ความสำคัญกับปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการพิจารณา เนื่องจากปัจจัยที่นำมาพิจารณานั้นคือตัวที่วัดผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งในแต่ละด้าน ที่สำคัญควรนำปัจจัยที่เป็นทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพมาพิจารณาให้หมดเพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการประเมินผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ในการประเมินผล ผู้ทำการประเมินควรมีสติและสัมปชัญญะอในขณะทำการประเมินผลเพื่อเป็นการละอคติทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะการมีอคตินั้น เป็นเสมือนกับดักในการตัดสินใจที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งตนเอง ผู้อื่น และองค์กร ทำให้การตัดสินใจหรือการประเมินผลขาดความชอบธรรมและเหตุผลที่ถูกต้อง ดังนั้นการมีสติจะทำให้ผลในการประเมินผลมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับได้
ในการทำการศึกษาต่อไปในอนาคตอาจจะกำหนดรอบความถี่ในการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการขนส่งเพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาที่ทำการประเมิน อีกทั้งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่จะนำมาใช้เพื่อการประเมินให้เหมาะสมกับนโยบายของบริษัทที่ทำการประเมินเพื่อศึกษาดูว่าผู้ให้บริการขนส่งมีผลการดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับบริษัทหรือไม่ และอาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำการประเมินผลที่เป็นแบบ Subjective ให้สามารถลดความมีอคติในจิตใจให้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย
บรรณานุกรม
[1] อรพินทร์ จีรวัสสกุล, 2549, การประยุกต์ใช้ AHP ในการประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการขนส่ง, การค้นคว้าอิสระปริญญาโท สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
บรรณานุกรม
[1] อรพินทร์ จีรวัสสกุล, 2549, การประยุกต์ใช้ AHP ในการประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการขนส่ง, การค้นคว้าอิสระปริญญาโท สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
ติดตามสาระความรู้และข่าวสารแวดวงโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้แล้วที่ Logistics Corner
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น