การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking)) : Just in time for distribution
แปลและเรียบเรียงโดย สรวิศ รัตนพิไชย
สาขาการจัดการโลจิสติกส์(รุ่นที่ 5)
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การจัดการคลังสินค้าโดยปราศจากสินค้าคงคลัง(Warehousing without inventory)
จาก 4 กิจกรรมหลักในการจัดการคลังสินค้า ซึ่งได้แก่ การรับสินค้า(Receiving) การจัดเก็บ(storage) การหยิบสินค้า(Order picking) และ การจัดส่งสินค้า(Shipping) มี 2 กิจกรรมหลักคือ storage และ order picking ที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด โดยเฉพาะ storage จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการถือครองสินค้าคงคลัง (inventory holding cost) และ order picking จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงงาน(Labor Cost)ในการปฏิบัติงาน
การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) จึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการขจัดกิจกรรมการจัดเก็บ และการหยิบสินค้า ในคลังสินค้า โดยที่ยังสามารถดำเนินการรับสินค้าและการจัดส่งสินค้าได้ต่อไป และเป็นแนวคิดที่จะขนย้ายสินค้าโดยตรงจากการรับสินค้าเข้าและส่งสินค้าออกไปทันทีโดยปราศจากการจัดเก็บสินค้าไว้ก่อน ซึ่งโดยปกติการจัดส่งโดยใช้วิธี Crossdock นี้ จะใช้เวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และบางครั้งก็สามารถใช้เวลาได้น้อยกว่า 1 ชั่วโมงด้วย
Crossdock เป็นวิธีอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า โดยเมื่อรถบรรทุกสินค้ามาถึงพร้อมกับสินค้าที่ต้องการการคัดแยกประเภทสินค้า การรวบรวมจำนวนเพื่อจัดส่งพร้อมกับสินค้าประเภทอื่น และการขนถ่ายสินค้าขึ้นรถบรรทุกสินค้า (Outbound truck) อีกคันหนึ่ง โดย Outbound truck นี้ อาจมุ่งหน้าไปยัง โรงงานผู้ผลิต (Manufacturing site) ร้านค้าส่ง/ปลีก (Retail outlet) หรือไปอีก Crossdock หนึ่ง แล้วแต่กรณี
แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) แตกต่างไปจากการจัดการคลังสินค้าแบบเดิม ? ในรูปแบบการจัดการคลังสินค้าแบบเดิม คลังสินค้าจะจัดเก็บสินค้าจนกว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้า แล้วสินค้านั้นจึงจะถูกหยิบ (Pick) บรรจุ(Pack) และจัดส่ง(Ship) ให้ลูกค้า แล้วจะมีการมาเติมเต็มสินค้าในคลัง และสินค้าเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ในคลังจนกว่าผู้ขายจะทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้ารายใดต่อไป แต่ในรูปแบบของการเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) นั้น ผู้ขายจะทราบว่าใครเป็นลูกค้าก่อนที่สินค้าจะถูกส่งไปยังคลังสินค้า จึงไม่จำเป็นที่ต้องทำการจัดเก็บสินค้าไว้ในคลังแต่อย่างใดเลย
แล้วนั่นหมายความว่า รูปแบบ Crossocking นั้น ลูกค้า(ยกตัวอย่างเช่น Retail outlet(ร้านขายสินค้าจากโรงงาน)) ต้องใช้เวลารอนานขึ้นกว่าที่รถบรรทุกขนส่งสินข้าขาเข้า(Inbound) จะมาถึงคลังสินค้า? …. ใช่ แต่บ่อยครั้งที่ความแน่นอนของตารางการจัดส่งสินค้า ก็สามารถชดเชยความไม่แน่นอนอันเกิดจากระยะเวลานำ (Lead time) ที่ยาวนาน(ซึ่งมีเวลานานกว่าการสั่งให้มาส่งสินค้าทีหลัง) และทำให้ไม่เกิดการสูญเสียขึ้นในระบบอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) เมื่อดำเนินการได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory cost) และต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation cost) ลงได้ในเวลาเดียวกัน
แรงจูงใจ(Motivation)
มี 2 เหลุผลหลักที่เป็นแรงจูงใจให้ดำเนินการในรูปแบบการเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) ประการแรกคือการที่ retailers เห็นว่าการสูญเสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจนั้นคือการถือครองสินค้าคงคลังสำหรับ SKU ที่มีรูปแบบคงตัวแน่นอน และสินค้านั้นมีความต้องการจากลูกค้ามาก และยังเห็นว่าการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Crossdocking) เป็นหนทางที่จะลดต้นทุนการถือครองของสินค้าคงคลังลงได้ ดังนั้น Retailers จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนจากการมีสินค้าคงคลังด้วยการมีข้อมูลและการประสานงานที่มากขึ้นด้วย สำหรับ Retailers อื่นๆ การขนสินค้าแบบไม่เต็มคันรถ (Less than truckload: TLT) และการขนส่งสินค้าหรือจำนวนน้อยนั้น การเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Crossdocking) เป็นหนทางที่จะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเหล่านั้นลงได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Retail outlet(ร้านขายสินค้าจากโรงงาน)s แต่ละรายอาจได้รับสินค้าจากการจัดส่งสินค้ามาให้ของ Vendor ด้วยการขนสินค้าแบบไม่เต็มคันรถ หรือขนส่งสินค้าจำนวนน้อย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งขาเข้า(Inbound) มากเกินกว่าที่ Retailers จะยอมรับได้ การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) เป็นการนำเอาการจัดส่งสินค้าแต่ละครั้งมารวมจำนวนการจัดส่งเข้าด้วยกันจนถึงระดับเต็มคันรถบรรทุกแล้วจึงจัดส่งออกไป ในบางกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับ Retailers นั้น จะมีรวบรวมการสั่งซื้อสินค้าจากกว่า 100 ร้านค้า และแต่ละร้านค้าจะได้รับสินค้าจาก Vendor ประมาณ 100 ราย ซึ่งสินค้านี้จะถูกจัดส่งด้วย Third Party แทนการจัดส่งแบบ TLT ไปยังร้านค้าโดยตรงเลย การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking) จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าขาเข้า(Inbound Transportation) และทำให้การรับสินค้าที่ Retail outlet(ร้านขายสินค้าจากโรงงาน) มีรูปแบบง่ายขึ้นอีกด้วย
ประเภทของ การเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Crossdocking)
คำว่า “การเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Crossdocking)” ได้ถูกอธิบายถึงความแตกต่างตามแต่ละประเภทของการดำเนินการซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการรวบรวมสินค้า(Consolidate)และการจัดส่งสินค้า โดย Napolitano(2000) ไว้ดังนี้
- Manufacturing Crossdocking: เป็นการรับและการรวบรวมสินค้าขาเข้าที่จัดหามาได้เพื่อสนับสนุนการผลิตแบบ JIT ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสินค้าอาจเช่าคลังสินค้าใกล้กับโรงงาน และใช้คลังนี้สำหรับการประกอบชิ้นส่วนเบื้องต้น หรือเป็นที่รวบรวมชิ้นส่วนประกอบในการผลิตต่างๆ ที่ได้รับความต้องการมาจากระบบ MRP ดังนั้นจึงทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อคสินค้าคงคลังแต่อย่างใดเลย - Distributor Crossdocking: เป็นการรวบรวมสินค้าขาเข้าจาก Vendor แหล่งต่างๆ ที่มี SKU ที่แตกต่างกันด้วย และจะถูกจัดส่งไปทันทีที่สินค้างวดสุดท้ายมาถึงและผ่านการรับสินค้าแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาจากแหล่งผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์ขนส่งสินค้าแบบไม่ผ่านคลังสินค้า (Merge-in-transit centers) ก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า
- Transportation Crossdocking: เป็นการรวบรวมการจัดส่งสินค้าจากผู้จัดส่งแต่ละรายแบบไม่เต็มคันรถ (TLT) และการจัดส่งสินค้าจำนวนน้อยเพื่อทำให้เกิดประโยชน์จากขนาด (Economics of scale) การขนส่งสินค้าใน Crossdock นั้นจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยระบบสายพานลำเลียงและการคัดแยกประเภท ส่วนการขนส่งแบบไม่เต็มคันรถ(TLT) ส่วนมากจะต้องใช้การเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยแรงงานคน และใช้รถ folklifts ด้วย
- Retail Crossdocking: เป็นการรับสินค้าจากผู้ขายสินค้าต่างๆ และมีการคัดแยกประเภทสินค้าเพื่อขนสินค้าขึ้นรถขนสินค้าขาออก (Outbound trucks) สำหรับส่งไปยังร้านค้าต่างๆ Crossdocking ถูกกล่าวถึงว่าเป็นเหตุผลหลักที่ Wall-Mart แซงหน้าคู่แข่งอย่าง K-Mart ได้ในธุรกิจค้าปลีกในช่วงทศวรรษ 1980 (Stalk et al., 1992)
- Opportunistic Crossdocking: เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังสินค้าโดยตรงจากบริเวณที่รับสินค้าขาเข้า (Receiving dock) ไปยังที่จัดส่งสินค้าขาออก (Shipment dock) เพื่อจัดส่งสินค้าไปให้กับลูกค้าตามใบสั่งสินค้า
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ส่วนที่เหมือนกันนั่นคือการรวบรวมการจัดส่ง และการใช้รอบเวลาสำหรับจัดส่งสินค้าที่สั้นมาก ซึ่งปกติใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งวัน การที่ใช้เวลาสั้นนั้นเป็นเพราะว่าทราบจุดหมายปลายทางของรายการที่จะจัดส่งก่อนล่วงหน้า หรือได้ถูกกำหนดจุดหมายที่จะรับสินค้าไว้แล้ว
การดำเนินการในรูปแบบ Crossdocking แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ Pre-distribution และ Post-distribution ในกรณีของการดำเนินการแบบ Pre-distribution นั้นผู้ขายจะเตรียมการต่างๆ ก่อนส่งสินค้าไปยัง Crossdock ของ Distributor ยกตัวอย่างเช่น การติดป้ายแสดงราคาของสินค้าแต่ละรายการ หรือการติดบาร์โค้ด ซึ่งอย่างน้อยจะมีการติดป้ายรายละเอียดสินค้าบนพาเลตทำให้พนักงานสามารถขนถ่ายสินค้าไปยังรถขนสินค้าขาออกได้ทันที การดำเนินการ Pre-distribution นั้นจะดีต่อ Distributor เพราะจะทำให้ต้นทุนดำเนินการ (Operating cost) ต่ำ เนื่องจากๆ ไม่ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับตัวสินค้าเลย แต่กลับเพิ่มความยุ่งยากให้กับผู้ขายสินค้าเพราะผู้ขายจะต้องรู้ว่าจำนวนของสินค้าในแต่ละ SKU ที่จะถูกจัดส่งไปให้กับลูกค้าที่ปลายทางก่อน ซึ่งผู้ขายจะต้องทำการติดป้ายแสดงบอกไว้ที่สินค้าด้วย
การดำเนินการ Post-distribution จะช่วยลดภาระดังกล่าวข้างต้นของผู้ขายได้บ้าง แต่ก็ยังจำเป็นจะต้องติดป้ายแสดงสินค้าในขณะทำการรับสินค้า ซึ่งมีส่วนทำให้ต้นทุนแรงงาน (Labor cost) ของ Distributor สูงขึ้น
รูปที่ 1: เป็นรูปแบบของ two-stage crossdock พนักงานจะนำพาเลทเข้าตามเส้นทางจากประตูของ receiving area จากนั้น พนักงานชุดที่สองจะคัดแยกประเภทสินค้าแล้วส่งไปยังช่องทางสำหรับการจัดส่ง (Shipping lanes) จากนั้นพนักงานชุดสุดท้ายจะทำการขนถ่ายสินค้าขึ้นรถขนสินค้าขาออก (Outbound trailers)
รูปที่ 1 ข้างต้น อธิบายถึงการเปลี่ยนถ่ายสินค้าแบบ retail crossdock ซึ่งมีการดำเนินการแบบ Post-Distribution ด้วยระบบ two-stage โดยมีข้อดีจากการที่พนักงานสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการจัดส่งสินค้าได้ตั้งแต่การหยิบสินค้าในระหว่างรอคิวการจัดส่ง(มักจะได้ผลมากในกรณีที่สินค้าในคลังมีความหนาแน่นมาก) ซึ่งพนักงานจะสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าในกระบวนรับสินค้าได้อีกด้วย สำหรับข้อเสียของการเปลี่ยนถ่ายสินค้าแบบนี้คือ สินค้าจะต้องอยู่ในคลังสินค้านานขึ้น และ Crossdock ยังต้องมีพื้นที่มากพอสำหรับกิจกรรมทั้ง 2 stage เป็นผลทำให้ต้นทุนแรงงานสูงขึ้นเพราะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า ถ้าหาก distributor สามารถดำเนินการ pre-distribution โดยผู้ขายแล้ว ก็จะสามารถลดกระบวนการลงได้หนึ่งกระบวนการ ทำให้ต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าลดลงตามไปด้วย(Bartholdi et al., 2001)
การเลือกสินค้า(Product selection)
การเลือกสินค้า(Product selection)
โดยทั่วไปแล้ว การพิจารณาเลือกประเภทสินค้าที่สามารถนำมาผ่าน Crossdocking จะพิจารณาจาก 2 เหตุผลคือ เป็นสินค้าที่มีความแปรปรวนน้อย และมีปริมาณความต้องการสินค้ามากพอ Crossdocking จึงมีหลักการคล้ายๆ กับการผลิตแบบ JIT ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อความต้องการมีความแปรปรวนต่ำและมีปริมาณที่มากเพียงพอที่จะกระทำได้บ่อยครั้ง (หรือไม่ก็มี Setup Cost ที่ไม่แพง) ที่จริงแล้ว Crossdocking อาจเรียกได้ว่าเป็น JIT แห่งการกระจายสินค้าได้ (Napolitano, 2000)
ในกรณีที่มีความต้องการสินค้าแบบคงที่ คลังสินค้าสามารถเตรียมรับสินค้าได้เหมาะสมตามจำนวนและวันเวลาที่สินค้าจะมาถึง ถ้าความต้องการสินค้าไม่คงที่ Crossdocking จะทำได้ยากมากเนื่องจากการควบคุมสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการได้นั้นทำได้ยาก นอกจากความต้องการสินค้าควรมีความแปรปรวนต่ำแล้ว ยังต้องมีปริมาณความต้องการสินค้าสอดคล้องกับการขนส่งที่บ่อย เพราะถ้ามีความต้องการสินค้าต่ำ การส่งสินค้าจะบ่อยขึ้นซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งขาเข้า (Inbound Logistics) มีค่าสูงขึ้นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ควรมีการถือครองสินค้าคงคลังมากกว่าที่จะทำ Crossdocking
กลยุทธ์หนึ่งที่ Retailers ใช้อยู่คือการจัดให้มีผู้ทำหน้าที่จัดซื้อ (Centralized buyer) เป็นผู้ตัดสินใจว่าควรให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าใดไปยังร้านค้าสาขาต่างๆ ของตน แทนที่แต่ละสาขาจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง นับได้ว่าเป็นระบบการจัดส่งแบบผลัก(Push distribution และไม่จำเป็นต้องรักษาระดับสินค้าคงคลังให้อยู่ที่ระดับสำรองปลอดภัยด้วย ในกรณีนี้ ผู้ซื้อจะสามารถกำจัดค่าความแปรปรวนให้ออกไปจากความต้องการสินค้าจาก Retail outlet ซึ่ง Retail อย่าง Wal-Mart และ Ross Store ก็ใช้เทคนิคนี้ด้วย
การเลือกสินค้าให้เหมาะสมกับการทำ Crossdock นั้นสินค้าที่เลือกจะต้องเป็นสินค้าที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายด้วย จากตัวอย่าง Home Depot ได้เลือกสินค้าที่จะผ่าน Crossdock โดยพิจารณาอย่างรอบครอบจากต้นทุนค่าขนส่งขาเข้าและความง่ายของการขนย้าย สินค้าบางรายการ เช่น ไม้แผ่นสำเร็จรูป และสินค้าอุตสาหกรรมเฉพาะงานจะถูกส่งไปยังร้านค้าต่างๆ โดยตรงแทนที่จะผ่าน Crossdock เพราะเป็นการประหยัดค่าขนส่งและลดต้นทุนของการเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย
ความสัมพันธ์ในห่วงโซ่อุปทาน(Supply chain relationships)
จากมุมมองทางด้านการบริหาร การทำ Crossdocking เป็นการดำเนินงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับการประสานงานของบุคคลหลายฝ่ายเช่น Distributors , suppliers และลูกค้า(Schaffer, 1997)
บ่อยครั้งที่การนำเอา Crossdocking ไปปฏิบัติใช้ถูกมองว่าการประสานงานระหว่างบุคคลแต่ละฝ่ายจะทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยก็สามารถสร้างปัญหาให้ปวดหัวขึ้นได้ ทางฝั่งด้าน Supply Suppliers อาจถูกขอร้องให้มีการจัดส่งสินค้าครั้งละไม่มากแต่บ่อยครั้งขึ้น หรือติดป้ายบอกราคาสินค้า หรือบาร์โค้ดมาด้วย ส่วนทางฝั่งด้าน Demand ลูกค้าก็อาจขอให้แจ้งวันสั่งสินค้าที่แน่นอน และยอมให้มีช่วงเวลา 2-3 วันสำหรับการจัดส่งสินค้าไปให้ ซึ่งความต้องการทั้งสองฝั่งที่กล่าวมานี้ นำไปสู่ต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นมา และการประสานงานระหว่างคู่ค้า ดังนั้น Distributor ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้การประหยัดที่เกิดขึ้นจากการทำ Crossdocking จะต้องมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงจะสมควรดำเนินการระบบนี้ต่อไปได้
ระบบนี้ต้องเพิ่มในเรื่องของคุณภาพการรับสินค้าเพราะเป้าหมายของการทำ Crossdocking คือการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังรถขนส่งสินค้าขาออกในทันที ดังนั้นจึงไม่มีเวลาพอที่จะตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ณ บริเวณจุดรับสินค้า (Receiving dock) ได้ ตามหลักการจริงๆ ของ Crossdocking นั้น จะไม่มีการตรวจนับจำนวนสินค้าเลยด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าจะทำให้ระดับความมั่นใจลดลงก็ตามที
นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างคู่ค้า เพราะบ่อยครั้งการติดต่อสื่อสารก็เป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งเช่นกันเนื่องจาก Distributor จำเป็นต้องทราบข้อมูลต่างๆ ก่อนรถขนส่งสินค้าขาเข้าจะมาถึง ผู้ขนสินค้าจำเป็นต้องทราบว่าจะนำรถเข้าช่องทางไหนด้วย วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้คือการนำระบบ EDI มาใช้งาน
กรณีศึกษา
- Home Depot
Home Depot ใช้ระบบ Crossdock ใน Philadelphia เพื่อกระจายสินค้าไปยังกว่า 100 ร้านค้าแถบ Northeast ซึ่งการจัดการของ Home Depot นั้นอนุญาตให้ผู้จัดการร้านสาขาต่างๆ เป็นผู้ตัดสินใจอย่างอิสระในการพิจารณาเลือกสินค้าที่จะสั่งรวมถึงการควบคุมระดับสินค้าคงคลังด้วย
ในอดีต แต่ละร้านจะแยกกันสั่งสินค้าจากผู้ขาย และมีจัดส่งสินค้าแบบไม่เต็มคันรถ (TLT) มายังแต่ละร้าน ปัจจุบัน Home Depot นำระบบ Crossdocking มาปฏิบัติเพื่อลดต้นทุน โดยให้ผู้ขายรวมจำนวนการสั่งสินค้าจากแต่ละร้าน และรวมการจัดส่งสินค้าเพื่อให้การขนส่งสินค้าในแต่ละครั้งขนได้มากขึ้น
การดำเนินการในปัจจุบัน: ร้านค้ากว่า 100 แห่ง สั่งสินค้าจากผู้ขายสัปดาห์ละหนึ่งวันโดยกำหนดวันสั่งสินค้าที่แน่นอนไว้ จากนั้นผู้ขายจะรวบรวมคำสั่งซื้อทั้งหมด แล้วจัดส่งสินค้าในปริมาณเต็มคันรถไปยัง Crossdock ใน Philadephia ซึ่ง ณ Crossdock พนักงานจะขนย้ายสินค้าต่างๆ ไปขึ้นรถบรรทุกแต่ละสายการจัดส่งเพื่อส่งไปร้านค้าแต่ละแห่ง ดังนั้นรถขนสินค้าหนึ่งจะประกอบไปด้วยสินค้าจากผู้ขายหลายแหล่ง ต้นทุนค่าขนส่งจึงลดต่ำลงได้เพราะจำนวนสินค้าที่ทำการจัดส่งเข้าและออกใน Crossdock เป็นจำนวนที่เต็มคันรถ
- Wall-Mart
Wall-Mart กระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้า 2 รูปแบบ คือ สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ (Staple stock) และสินค้าส่งตรงถึงลูกค้า (direct freight) ในส่วนที่เป็น Staple stock จะรวมรายการที่ลูกค้าของ Wall-Mart คาดหวังที่จะหาซื้อได้ใน Wall-Mart ทุกสาขา เช่น ยาสีฟัน และแชมพู เป็นต้น ส่วน Direct freight นั้นคือสต็อคสินค้าซึ่งลูกค้าของ Wall-Mart สั่งซื้อเป็นจำนวนมากๆ แล้วดำเนินนโยบายแบบผลักสินค้าเข้าร้านของตน หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่า “วันนี้อยู่นี่ พรุ่งนี้ไปแล้ว”
ในศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งมีสินค้าคงคลังสำหรับ สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ(Staple stock) เมื่อร้านค้าสั่งสินค้าเหล่านี้ พนักงานจะหยิบสินค้าและจัดส่งสินค้าดังกล่าวให้ร้านค้าเหล่านั้น ส่วนรายการสินค้าที่เป็น Direct freight จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าที่แตกต่างออกไปอย่างมาก โดยเมื่อสินค้ามาถึง ก็จะถูกส่งไปเก็บบน Rack ทันที และพนักงานจะหยิบสินค้าจากอีกฝั่งหนึ่งของ Rack ระบบการการจัดการสินค้าคงคลังของ Wall-Mart จะกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าสินค้าแต่ละ SKU จะถูกจัดส่งไปแต่ละ outlet(ร้านขายสินค้าจากโรงงาน) เป็นจำนวนเท่าไหร่ พนักงานก็จะหยิบสินค้าเพื่อจัดส่งไปตามจำนวนนั้น สินค้าแบบ Direct freight มักจะอยู่ในคลังสินค้าน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ดังนั้น Wall-Mart จึงสามารถลดต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังลงได้ ศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งใน California สินค้าแบบ Direct freight นั้นมีปริมาณสูงถึง 60 % ของรายการสินค้าที่จะถูกจัดส่งทั้งหมดเลยทีเดียว
- Costco
Costco เป็นผู้ที่ทำให้หลักการจัดการคลังสินค้าเป็นที่รู้จักทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ การกลยุทธ์การทำ Crossdocking เนื่องจากในคลังสินค้าของ Costco จะจัดเก็บสินค้าเป็นพาเลท โดยระบบการทำ Crossdock ของ Costco นั้นจะทำการรับและจัดส่งสินค้าเป็นพาเลท ที่ศูนย์กระจายสินค้าใน California 85% ของจำนวนพาเลททั้งหมดจะถูกเคลื่อนย้ายจากผ่าน Crossdock อยู่ตลอด ส่วนพาเลทที่เหลือคือส่วนที่เสียหายหรืออยู่ระหว่างคัดแยกในพื้นที่วางกอง สินค้าส่วนใหญ่ในศูนย์กระจายสินค้าจะไม่มีการหยุดเคลื่อนที่ ดังนั้น Costco จึงสามารถลดต้นทุนแรงงานซึ่ง Retailers ต้องจ่ายไปกับการหยิบสินค้า(order picking) บรรจุหีบห่อสินค้า(packing) และจัดส่งสินค้า(packing)
ขณะนี้ Costco ใช้ระบบ post-distribution นั่นหมายความว่า Costco จะเป็นผู้ติดป้ายแสดงรายละเอียดสินค้าหลังจากทำการรับสินค้าแล้ว ในอนาคต Costco มุ่งหวังที่จะให้ผู้ขายของเขาติดป้ายแสดงรายละเอียดแทน Costco ซึ่งจะช่วยลดจำนวนแรงงานที่ใช้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าลงได้
- FedEx Freight FedEx Freight เป็นชื่อบริษัทใหม่ที่รวมเอาบริษัท American Freightways กับ Viking Freight ซึ่งเป็นทั้งผู้ส่งสินค้าที่เป็น inter และ regional LTL ที่ถูกควบกิจการภายใต้ชื่อ FedEx
พนักงานขับรถขนส่งและการขนสินค้าจะไม่ดำเนินการในเวลากลางวัน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำการรวบรวมและจัดสินค้า เมื่อถึงกลางคืน สินค้าที่ถูกเตรียมไว้ตอนกลางวันก็จะถูกขนส่งไปให้กับลูกค้า สำหรับในช่วงเวลาเย็นพนักงานขับรถจะกลับมาที่ Crossdock เพื่อขนสินค้าลงจากรถขนสินค้าขาเข้าแล้วขนขึ้นขนส่งสินค้าขาออก รถบรรทุกเหล่านี้จะเดินทางไปยังจุดหมายในเวลากลางคืน ซึ่งสินค้าจะถูกขนถ่ายลงจากรถและทำการคัดแยกประเภทในเช้าวันรุ่งขึ้น Crossdocking จะทำให้ได้รับประโยชน์จากขนาด(Economic of scale) จากการขนส่งแบบ LTL ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องต้นทุนการขนส่งในกรณีที่มีการไหลของสินค้าต่ำ
ที่มา http://www.logisticscorner.com แหล่งรวมสาระความรู้และข่าวสารแวดวงโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น